วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบเนฟริเดียของไส้เดือน



          

            ต่างกับระบบเฟลมเซลล์  เพราะระบบเฟลมเซลล์ยังไม่มีเส้นเลือดมาเกี่ยวข้องด้วยแต่ระบบเนฟริเดียมี เส้นเลือดมาเกี่ยวข้อง  ทำให้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนโดยตรงระหว่างเลือดและอวัยวะขับถ่าย
          
ไส้เดือนดินมีลำตัวแบ่งเป็นปล้องๆ  ภายในมีเยื่อบางๆ  กั้นระหว่างปล้องทำให้แต่ละปล้องแยกออกจากกัน  ในแต่ละปล้องจะมีอวัยวะขับถ่ายอยู่คู่หนึ่งเรียกว่า  เนฟริเดีย(nephridia เอกพจน์ nephridium) อวัยวะขับถ่ายแต่ละข้างไม่ติดต่อถึงกัน ต่างก็มีท่อเปิดสู่ภายนอกโดยตรง  ปลายข้างหนึ่งของเนฟริเดียแต่ละอันเปิดอยู่ในช่องว่างของลำตัวที่ปลายเปิด นี้มีขนเล็กๆ  อยู่โดยรอบและมีลักษณะเป็นปากแตร เรียกว่า เนโฟรสโตม(nephrostome)     จากนี้ก็จะมีท่อขดไปมาตอนปลายท่อจะพองใหญ่ออกคล้ายถุง เรียกแบลดเดอร์  (bladder) ปลายของแบลดเดอร์เปิดออกสู่ภายนอกที่บริเวณซึ่งมีหลอดขดไปมา มีเส้นเลือดฝอยแผ่อยู่เต็ม  ของเสียจากช่องว่างของลำตัวเข้าสู่เนฟริเดียทางเนโฟรสโตมนอกจากนี้สาร บางอย่างจะถูกดูดจากเส้นเลือดเข้าสู่หลอดขับถ่ายเล็กๆ ที่ขดไปมาด้วยและเชื่อกันว่าที่บริเวณนี้อาจสามารถดูดเอาสารบางอย่างจากหลอด ขับถ่ายกลับเข้าสู่เลือดได้ด้วย การขับของเหลวออกสู่ภายนอกร่างกายส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการบีบตัวของกล้าม เนื้อรอบผนังลำตัวในขณะที่ไส้เดือนเคลื่อนที่

คอนแทรกไทล์แวคิวโอล (Contractile Vacuole) ของโปรโตซัว



โปรโตซัวและสัตว์หลายเซลล์ชั้นต่ำบางชนิด ไม่มีอวัยวะทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่เป็นของเหลว ของเสียดังกล่าวสามารถ ซึมผ่านผิวเซลล์ออกสู่น้ำที่อยู่นอกตัวมันได้โดยตรงอย่าง ไรก็ตาม มีเซลล์เดียวหลายชนิดที่มีโครงร่างในเซลล์เรียก คอนแทรกไทล์แวคิวโอล ทำหน้าที่สำหรับขจัดของเสียที่เป็นของเหลวจากเซลล์  โดยดูดของเหลวที่เป็นของเสียมาสะสมเอาไว้  และเมื่อมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยไปจนถึงขีดหนึ่ง จะบีบตัวขับของเหลว ในแวคิวโอลออกสู่ภายนอกเซลล์ ดังนั้น คอนแทรกไทล์แวคิวโอล จึงทำหน้าที่ กำจัดน้ำที่มีมากเกินต้องการออกนอกร่างกาย และบางส่วนของของเสียที่เกิดจาก เมตาโปลิซึมของโปรตีนก็อาจขับออกทางนี้ได้ด้วย

คอนแทรกไทล์แวคิวโอลพบมากในโปรโตซัวที่อยู่ในน้ำจืดซึ่งจำเป็นจะต้องขจัดน้ำ ที่ร่างกายดูดเข้ามาจากภายนอกโดยวิธีออสโมซิส เพื่อรักษาระดับความเข้มข้น ของสารละลายภายในเซลล์ให้คงที่อยู่ได้ อัตราการบีบตัวของคอนแทรกไทล์แวคิวโอ ลขึ้นอยู่กับความดัสออสโมซิสของน้ำที่สัตว์นั้นอาศัยอยู่ กล่าวคือ อัตราการ บีบตัวจะลดต่ำลง ถ้าความดันออสโมซิสของน้ำที่มันอาศัยอยู่เพิ่มขึ้น แต่จะ เร็วขึ้นถ้าความดันออสโมซิสของน้ำลดลง

ระบบเฟลมเซลล์ (Flame Cells) ของหนอนและพยาธิตัวแบน

        
        เป็น ระบบขับถ่ายระบบแรกที่มีท่อเป็นทางออก  พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายเซลล์  พวกตัวพลานาเรีย  พยาธิใบไม้และพยาธิตัวตืด ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กมากไม่มีเส้นเลือดและไม่มี ช่องว่างของลำตัวที่แท้จริง ระบบขับถ่ายนี้โดยทั่วๆ  ไปประกอบไปด้วยหลอดที่มีกิ่งก้านสาขาอยู่    ข้าง ตลอดความยาวของลำตัว  ในพลานาเรียซี่งเป็นหนอนตัวแบนที่หากินเป็นอิสระอยู่ในน้ำจืดและดินชื้นๆ  หลอดเหล่านี้จะมาเปิดเป็นท่อมากมายที่บริเวณผิวของลำตัว

         
ในพวกพยาธิใบไม้  หลอดเล็กๆ อาจมารวมกันเป็นถุงขนาดใหญ่ก่อนเปิดติดต่อกับภายนอก ส่วนสำคัญของระบบขับ ถ่ายแบบนี้ประกอบไปด้วยกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ขับถ่าย มีลักษณะคล้ายเป็น เบ้าเล็กๆ ยื่นออกมาจากข้างหลอดขับถ่ายมากมาย แต่ละอันก็จะมีเซลล์ ซึ่งมีช่องว่างอยู่ ตอนกลาง ซึ่งในช่องว่างนี้มีขนยาวๆ เรียก ซิเลีย (cilia) รวมกันอยู่เป็นกลุ่มยื่นเข้ามาในช่องว่างทำหน้าที่พัดโบกน้ำและของเสียจาก เซลล์ขับถ่าย ซึ่งเรียก  เฟลมเซลล์ เข้าสู่ช่องว่างตอนกลางซี่งติดต่อกับท่อขับถ่าย การพัดโบกของ กลุ่มขนของเฟลมเซลล์นี้มีลักษณะคล้ายกับเปลวไฟที่ปลายเทียนไข จึงมักมีผู้เรียกเซลล์ขับถ่ายนี้ว่าเฟลมเซลล์เช่นเดียวกับคอนแทรกไทล์แวคคิว โอล เฟลมเซลล์ทำหน้าที่สำคัญในการรักษาระดับสมดุลของน้ำในร่างกาย เพราะส่วน ใหญ่ของเสียซึ่งเป็นของเหลวที่เกิดจากเมตาโบลิซึมในสัตว์พวกนี้จะถูกขจัดออก ไปกับช่องทางเดินอาหารซึ่งทำหน้าที่เป็นทางผ่านของเลือด  และขับถ่ายของเสียได้ด้วย เราเรียกช่องว่างนี้ว่า ช่องว่างแกสโตรวาสคูลา ร์(Gastrovascular cavity) ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องการหายใจ