วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบเนฟริเดียของไส้เดือน



          

            ต่างกับระบบเฟลมเซลล์  เพราะระบบเฟลมเซลล์ยังไม่มีเส้นเลือดมาเกี่ยวข้องด้วยแต่ระบบเนฟริเดียมี เส้นเลือดมาเกี่ยวข้อง  ทำให้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนโดยตรงระหว่างเลือดและอวัยวะขับถ่าย
          
ไส้เดือนดินมีลำตัวแบ่งเป็นปล้องๆ  ภายในมีเยื่อบางๆ  กั้นระหว่างปล้องทำให้แต่ละปล้องแยกออกจากกัน  ในแต่ละปล้องจะมีอวัยวะขับถ่ายอยู่คู่หนึ่งเรียกว่า  เนฟริเดีย(nephridia เอกพจน์ nephridium) อวัยวะขับถ่ายแต่ละข้างไม่ติดต่อถึงกัน ต่างก็มีท่อเปิดสู่ภายนอกโดยตรง  ปลายข้างหนึ่งของเนฟริเดียแต่ละอันเปิดอยู่ในช่องว่างของลำตัวที่ปลายเปิด นี้มีขนเล็กๆ  อยู่โดยรอบและมีลักษณะเป็นปากแตร เรียกว่า เนโฟรสโตม(nephrostome)     จากนี้ก็จะมีท่อขดไปมาตอนปลายท่อจะพองใหญ่ออกคล้ายถุง เรียกแบลดเดอร์  (bladder) ปลายของแบลดเดอร์เปิดออกสู่ภายนอกที่บริเวณซึ่งมีหลอดขดไปมา มีเส้นเลือดฝอยแผ่อยู่เต็ม  ของเสียจากช่องว่างของลำตัวเข้าสู่เนฟริเดียทางเนโฟรสโตมนอกจากนี้สาร บางอย่างจะถูกดูดจากเส้นเลือดเข้าสู่หลอดขับถ่ายเล็กๆ ที่ขดไปมาด้วยและเชื่อกันว่าที่บริเวณนี้อาจสามารถดูดเอาสารบางอย่างจากหลอด ขับถ่ายกลับเข้าสู่เลือดได้ด้วย การขับของเหลวออกสู่ภายนอกร่างกายส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการบีบตัวของกล้าม เนื้อรอบผนังลำตัวในขณะที่ไส้เดือนเคลื่อนที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น